ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Curly dock - Curry dock, Yellow dock [11]
- Curly dock - Curry dock, Yellow dock [11]
Rumex crispus L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Polygonaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Rumex crispus L.
 
  ชื่อไทย ผักกาดส้ม
 
  ชื่อท้องถิ่น - เก่อบะซิ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - ชั่วโล่งจั๊วะ (ม้ง-เชียงใหม่) พะปลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักกาดส้ม (แม่ฮ่องสอน) [11]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก อายุหลายปี สูงได้ถึง 150 ซม. ลำต้นสีเขียวอมแดง ผิวเกลี้ยง ค่อนข้างกลม มีรากแก้วคล้ายหัวผักกาด ยาวโดยทั่วไป 20-30 ซม. หากทิ้งไว้มีอายุมากอาจยาวได้ถึง 150 ซม. แตกกิ่งก้านสาขาได้
ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบต้นหรือกิ่ง หูใบแบน มีลักษณะคล้ายปลอกหุ้มลำต้น ใบที่อยู่ด้านล่างมีก้านยาว 10-12 ซม. แผ่นใบรูปหอกแคบถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขนาดความกว้าง 2-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. หรืออีกนัยหนึ่งยาวกว่าความกว้าง 4-5 เท่า ปลายใบมนเล็กน้อยหรือแหลม โคนใบสอบแคบ โค้งมนรูปตัดหรือเว้าตื้น ขอบใบเป็นลอนคล้ายลูกคลื่นหรือย่นผิวใบเกลี้ย เส้นใบเป็นลอนคล้ายลูกคลื่นหือย่นผิวใบเกลี้ยง เส้นใบข้างค่อนข้างเลือนราง เห็นไม่ชัดเจน ใบที่อยู่ด้านบนไม่มีก้านใบ หรือมีแต่สั้นยาวประมาณ 5 มม. แผ่นใบมักจะยาวแคบกว่าด้านล่าง
ดอก ออกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้นที่ยอดหรือปลายกิ่ง บางครั้งแยกแขนงออกเป็น 2-3 แขนงดอกย่อยสมบูรณ์เพศอยู่เป็นกระจุกรอบแกนดอกชิดกันหนาแน่นตามแกนช่อดอก มีลักษณะคล้ายทรงกระบอกหรือรูปคล้ายกระบอง กลุ่มดอกที่ออกจากง่ามใบล่างลงมามักจะเป็นกระจุกเล็กๆ รูปทรงกลมดอกย่อยสีเขียว มีขนาดเล็ก วงกลีบรวม 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบวงในขยายใหญ่และหุ้มผลเมื่อตกผล เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียงตัวเป็น 2 วง วงละ 3 อัน อับเรณูติดที่ฐาน รังไข่รูปไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 3 ช่อง มีก้านเกสรสั้น 3 อัน ปลายก้านคล้ายแปรงหรือเป็นชายครุยผลเป็นประเภทเปลือกแข็ง
เมล็ด เดี่ยว ขนาดยาว 2.5-3.0 มม. รูปไข่ ด้านข้างเป็นสันนูนคล้ายปีก 3 สันมีกาบของกลีบหุ้มเป็นสันคล้ายปีก 3 สัน [11]
 
  ใบ ใบ ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบต้นหรือกิ่ง หูใบแบน มีลักษณะคล้ายปลอกหุ้มลำต้น ใบที่อยู่ด้านล่างมีก้านยาว 10-12 ซม. แผ่นใบรูปหอกแคบถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ ขนาดความกว้าง 2-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. หรืออีกนัยหนึ่งยาวกว่าความกว้าง 4-5 เท่า ปลายใบมนเล็กน้อยหรือแหลม โคนใบสอบแคบ โค้งมนรูปตัดหรือเว้าตื้น ขอบใบเป็นลอนคล้ายลูกคลื่นหรือย่นผิวใบเกลี้ย เส้นใบเป็นลอนคล้ายลูกคลื่นหือย่นผิวใบเกลี้ยง เส้นใบข้างค่อนข้างเลือนราง เห็นไม่ชัดเจน ใบที่อยู่ด้านบนไม่มีก้านใบ หรือมีแต่สั้นยาวประมาณ 5 มม. แผ่นใบมักจะยาวแคบกว่าด้านล่าง
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้นที่ยอดหรือปลายกิ่ง บางครั้งแยกแขนงออกเป็น 2-3 แขนงดอกย่อยสมบูรณ์เพศอยู่เป็นกระจุกรอบแกนดอกชิดกันหนาแน่นตามแกนช่อดอก มีลักษณะคล้ายทรงกระบอกหรือรูปคล้ายกระบอง กลุ่มดอกที่ออกจากง่ามใบล่างลงมามักจะเป็นกระจุกเล็กๆ รูปทรงกลมดอกย่อยสีเขียว มีขนาดเล็ก วงกลีบรวม 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบวงในขยายใหญ่และหุ้มผลเมื่อตกผล เกสรเพศผู้ 6 อัน เรียงตัวเป็น 2 วง วงละ 3 อัน อับเรณูติดที่ฐาน รังไข่รูปไข่นูนเหนือฐานวงกลีบรวม ภายในมี 3 ช่อง มีก้านเกสรสั้น 3 อัน ปลายก้านคล้ายแปรงหรือเป็นชายครุยผลเป็นประเภทเปลือกแข็ง
 
  ผล เมล็ด เดี่ยว ขนาดยาว 2.5-3.0 มม. รูปไข่ ด้านข้างเป็นสันนูนคล้ายปีก 3 สันมีกาบของกลีบหุ้มเป็นสันคล้ายปีก 3 สัน [11]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบ ใช้ใส่แกงเพื่อให้มีรสเปรี้ยว (ใช้แทนมะนาว)(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ชาวเขาเผ่าจีนฮ่อ ม้ง เย้า ปะหล่องและเผ่าอื่นๆ ใช้ลำต้นและใบซึ่งมีรสเปรี้ยวทำเป็นผักดองเค็มกินเป็นกับแกล้มหรือกินกับข้าว(11)
- ม้งใช้ยอดอ่อนอมหรือต้มกับไข่กินแก้ปวดฟัน
ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้รากห่อผ้าทุบให้แหลกทำเป็นลูกประคบฝี เมื่อฝีแตกจึงใช้รากฝนน้ำทา ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายและแก้หนองใน
นอกจากใช้ประโยชน์เป็นยาพื้นบ้านแล้ว ในบางแห่งใช้รากของพืชชนิดนี้เป็นสีย้อมผ้าและหนัง [11]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[11] สุธรรม อารีกุล, จำรัส อินทร, สุวรรณ ทาเขียวและอ่องเต็ง นันทแก้ว, 2551. องค์ความรู้เรื่องพืชป่าที่ใช้ประโยชน์ทางภาคเหนือของไทย เล่ม 3. มูลนิธิโครงการหลวง. อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), กรุงเทพฯ. 978 หน้า.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง